ทฤษฎีสี
ความหมายของสีสี คือลักษณะของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็น
ในทางศิลปะ สีคือ ทัศนธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะและใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม
ช่วยสร้างบรรยากาศ มีความสมจริง เด่นชัดและน่าสนใจ มากขึ้น
สีวัตถุธาตุ
เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี
มีแม่สี 3
สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมา
ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ แม่สีวัตถุธาตุเมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์จะทำให้เกิดวงจรสี ( Colour Circle) ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ
เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสีจะแสดงสิ่งต่างๆ
ดังต่อไปนี้
สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงินสีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีแดง ผสมกับสีเหลืองได้สีส้ม สีแดง ผสมกับสีน้ำเงินได้สีม่วง สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน ได้สีเขียว
สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่นๆ อีก 6 สี คือ สีแดง ผสมกับสีส้มได้สีส้มแดง สีแดงผสมกับสีม่วงได้สีม่วงแดง สีเหลืองผสมกับสีเขียวได้สีเขียวเหลืองสีน้ำเงินผสมกับสีเขียวได้สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงินผสมกับสีม่วงได้สีม่วงน้ำเงิน สีเหลือง ผสมกับสีส้มได้สีส้มเหลือง
วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสี ซึ่งแบ่งที่สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ ถ้าพิจารณาในวงจรสีจะพบว่าด้านหนึ่งเป็นสีที่ให้ความรู้สึกเย็นเป็นสีโทนเย็น (Cool Tone) คือสีที่อยู่ใกล้กับสีน้ำเงินและสีเขียว มี 6 สี ได้แก่ สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วง น้ำเงินม่วง จะให้ความรู้สึก เย็น สงบ เรียบ เศร้า การใช้สีอ่อนในวรรณะเย็นจะทำให้ดูไกลออกไป และถ้าพิจารณาอีกด้านหนึ่งจะพบว่าเป็นสีที่ให้ความรู้สึกร้อน เป็นสีโทนร้อน (Warm Tone) คือสีที่อยู่ใกล้กับสีแดงและสีส้ม มี 6 สี ได้แก่ สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีม่วงแดง จะให้ความรู้สึกตื่นเต้น กระฉับกระเฉง รื่นเริง รุนแรง ขัดแย้ง เมื่อนำไปใช้จะทำให้ดูใกล้เข้ามา
สีตรงข้าม (Complementary Colour)/สีตัดกัน (Contrasts Colour)/ สีคู่ประกอบ (Complementary)/ สีคู่ปฏิปักษ์ (Contrast) คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง นำไปใช้กับบริเวณที่ต้องการเน้นให้ส่วนนั้นเด่นชัดขึ้น ตัดกับบริเวณส่วนอื่นการแสดงสีในลักษณะนี้จะทำให้ผู้พบเห็นสะดุดตา จากอำนาจของคลื่นสีจะให้ความรู้สึกตัดกันอย่างรุนแรง มองดูบาดตา กระตุ้นเร้า ขัดแย้งและไปด้วยกันไม่ได้ และเมื่อนำสีคู่ตรงข้ามมาผสมกันผลลัพธ์จะเป็นสีกลาง ส่วนสีที่มีค่าน้ำหนักแตกต่างกันมากจะเป็นสีที่ไม่ได้ตัดกันแท้จริง เช่น ขาวกับดำ เหลืองน้ำเงิน การใช้สีตรงข้ามในพื้นที่ใกล้เคียงกันจะทำให้สีไม่มีเอกภาพ โดยทั่วไปควรจะใช้สีหนึ่งประมาณ70% อีกสี 30% การลดความรุนแรงในการใช้สีตรงข้ามทำได้โดย
1) ใช้สีตรงข้ามในภาพเดียวกัน มีเนื้อที่การใช้ คือ สีหนึ่ง 80 % อีกสีหนึ่ง 20 %
2) การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ในปริมาณเท่ากันจะทำให้ดูบาดตาเกินไป แก้ไขด้วยการ
ใช้เส้นสีดำหรือสีที่มีน้ำหนักเข้มมาคั่นกลางระหว่างสีตรงข้ามนั้น หรือลดความสดใสของสีลงด้วยการนำสีนั้นผสมกับสีตรงข้ามเล็กน้อย จะช่วยลดความรุนแรงของสีลง
3. นำสีตรงข้ามมาใช้สลับกันไปในลวดลายเล็กๆแพรวแพรวจะทำให้ประสานกัน
สีกลมกลืน (Harmony) หรือ สีข้างเคียง (Analogous) คือการแสดงสีที่อยู่ติดกันในวงจรสี ทีละ 2 สี หรือ
3 สี หรือ 4 สี
ให้ความรู้สึกไปในกลุ่มโทนสีนั้น และดูไม่ฉูดฉาดเกินไป
สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี
คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน
ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญคือใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้นๆเข้มขึ้น
สีเทาเกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทามีคุณสมบัติที่สำคัญคือใช้ผสมกับสีอื่น
ๆ แล้วจะทำให้มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงาในระดับต่าง ๆ
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย
เคลื่อนไหว ตื่นเต้น เร้าใจ
มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง ความรัก
ความสำคัญ อันตราย
สีส้ม ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส
มีชีวิตชีวา วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย ความเปรี้ยว
การระวัง
สีเหลือง ให้ความรู้สึกแจ่มใส ความสดใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่ ความสด ใหม่
ความสุกสว่าง การแผ่กระจาย
อำนาจบารมี
เขียว ให้ความรู้สึก สงบ เงียบ ร่มรื่น ร่มเย็น การพักผ่อน
การผ่อนคลาย ธรรมชาติ
ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสุขุม
เยือกเย็น
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม
เอาการเอางาน ละเอียด รอบคอบ
สง่างาม มีศักดิ์ศรี สูงศักดิ์ เป็นระเบียบถ่อมตน
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม
เร้นลับ ซ่อนเร้น มีอำนาจ มีพลังแฝงอยู่ ความรัก ความเศร้า ความผิดหวัง ความสงบ ความสูงศักดิ์
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง
เบา โปร่งใส สะอาด
ปลอดภัย ความสว่าง
ลมหายใจ
ความเป็นอิสระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน
สีขาว ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง
อ่อนโยน เปิดเผย การเกิด ความรัก
ความหวัง ความจริง ความเมตตา
ความศรัทธา ความดีงาม
สีดำ
ให้ความรู้สึก มืด สกปรก ลึกลับ ความสิ้นหวัง
จุดจบ ความตาย ความชั่ว ความลับ ทารุณ โหดร้าย ความเศร้า หนักแน่น
เข้มเข็ง อดทน มีพลัง
สีชมพู ให้ความรู้สึก
อบอุ่น
อ่อนโยน นุ่มนวล อ่อนหวาน ความรัก เอาใจใส่
วัยรุ่น หนุ่มสาว ความน่ารัก ความสดใส
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงียบ สุภาพ สุขุม ถ่อมตน
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า
มีราคา สูงค่า สิ่งสำคัญ ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข
ความมั่งคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย
คุณลักษณะของสี
คุณลักษณะของสี
เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงาม และความรู้สึกต่าง
ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้ โดยทั่วไป
มีดังนี้ คือสีเอกรงค์ (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลายๆน้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ ให้ความรู้สึกสุขุม เรียบร้อย เป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา ลักษณะสีจะดูเรียบง่าย ประณีต ดูได้นานไม่เบื่อง่าย เป็นอมตะ ไม่รุนแรงเพราะไม่มีสีตรงข้ามเข้าไปปะปน ตัวอย่างเช่น ต้องการใช้สีเอกรงค์สีเขียว ให้ใช้สีเขียวสดเป็นสีเด่น สีเขียวประกอบอื่นๆให้ลดความสดใสลงหมด เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิม ภาพจิตรกรรมไทยแบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่นๆเข้ามาประกอบมากขึ้น ทำให้มีหลายสี ซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสีเอกรงค์
วรรณะของสี (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ ร้อนและเย็น สีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ในวงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่มสีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สีต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้ง การเลือกใช้สีในวรรณะใดขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงาน
ค่าน้ำหนักของสี (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนักในระดับต่างๆกัน และมีสีหลายๆ ถ้ามีค่าน้ำหนักหลายๆระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้น แต่ถ้ามีเพียง 1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่าง เป็นการแสดงแสงเงา ความมืดสว่าง ความอ่อนแก่ของสี การทำให้สีอ่อนแก่ทำได้โดยผสมกับสีดำ สีขาว สีตรงข้ามและน้ำ การแสดงน้ำหนักอ่อนแก่ต่างกันของสี จะทำให้ภาพดูมีมิติ มีความลึก ใกล้ไกล มีชีวิตชีวา สีอ่อนให้ความรู้สึกไกล สีแก่ให้ความรู้สึกใกล้ สีดำเป็นสีที่มีน้ำหนักมากที่สุด สีขาวเป็นสีที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด เงาจะต้องเป็นสีหม่นเสมอ สีถ้าอยู่ในที่มีแสงสว่างน้อยจะเป็นสีหม่นมากน้อยตามแสงสว่าง ส่วนเงาจะเป็นสีกลมกลืน ถ้าอยู่ในที่มีแสงสว่างมาก แสงจัด จะเป็นสีสด ส่วนเงาเป็นสีตรงข้าม
ความเข้มของสี (Intensity) เกิดจากสีแท้ คือสีหลัก ไม่ถูกผสมด้วยสีกลางหรือสีอื่นๆ จะมีความเข้มสูงสุด แรงจัดที่สุด เมื่ออยู่ท่ามกลางสีอื่นๆจะแสดงความเด่นของสีให้เห็นอย่างชัดเจน ทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงาน
สีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุมสีอื่นๆที่อยู่ในภาพ
บรรณานุกรม
ปัญญา ทรงเสรีย์
และคณะ. สมุดปฏิบัติการ จิตกรรม
2 ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.
กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2542. หน้า
43อารี สุทธิพันธุ์. การระบายสีน้ำ. กรุงเทพฯ : กระดาษสา, 2526. หน้า 44 , 45
ห้องศิลปะครูอาร์ต. 2551. การเขียนภาพสีน้ำ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2554.
จาก http://artmenh.multiply.com/reviews/item/3
นิตย์สาร ปัญญาชน. 2551. เรื่องในตอนนี้. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2554.
จาก http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=414049
Thaigoodview. 2551. ชนิดของสี. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2554. จาก
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/pimolnut_v/art/sec02p01.html
Charts. 2550. การระบายสีน้ำ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2554. จาก http://www.chaarts.com/article%20paint%20water%20colour%20paper.html