การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง
การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง (Dry on Dry) คือ สีผสมน้ำน้อย ใช้พู่กันจุ่มสีแบบหมาด เกือบแห้ง ระบายในลักษณะฝืด ๆ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ผสมผสานกัน สีจะติดบ้างไม่ติดบ้างตามน้ำหนักมือ
ประกอบกับการใช้ส่วนต่าง ๆ ของพู่กัน คือ ปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่าง
ๆ และทำให้เกิดพื้นผิว (Texture) ตามลักษณะของกระดาษ ทำให้เกิดพื้นผิวสีน้ำที่ครูดกับกระดาษ
(crack) เกิดลักษณะที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง ใช้ในงานสเกตช์ ใช้กับการเน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ หรือเขียนเป็นเส้นในสัดส่วนเล็กน้อย
ใช้ระบายวัตถุที่มีผิวขรุขระ แห้ง แข็งกระด้าง เช่น เปลือกไม้ น้ำตก โขดหิน ลูกคลื่น
พื้นทราย รวมทั้งใช้กับภาพที่ต้องการสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างรวดเร็ว เช่น ภาพคน เดิน วิ่ง รถจักรยาน ร่ม ศิลปินจีนและญี่ปุ่นมีความชำนาญในการวาดภาพแบบนี้มากเพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวหนังสือของเขา
สำหรับศิลปินไทยจะตัดเส้นรอบนอกและรายละเอียดเส้นชัดเจน การระบายแบบนี้เพิ่งจะได้รับการพัฒนาเมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการวาดเขียนตามท่าทาง (Gesture Drawing) และการเน้นบริเวณที่ต้องการชี้เฉพาะเจาะจง (Emphasis)
เทคนิคการระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้งมีเทคนิคการระบาย
ดังนี้
1. การแตะ (Stamping)
แตะตามแนวนอนเว้นช่องห่างกันและชิดกันตามต้องการ พลิกแพลงวิธีแตะให้แปลกไปจากที่เคยทำ เปลี่ยนสี เปลี่ยนพู่กัน
ตามที่เห็นว่าน่าสนใจและเหมาะสม
2. การป้าย (Splashing)
ป้ายรวดเร็ว โดยป้ายในทางตรง เฉียง หรือแนวนอน สีจะติดมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำและพู่กัน
การป้ายช้า ๆ สีจะติดกระดาษมากกว่าไม่ติด ป้ายครั้งเดียวจะป้ายตรง เฉียง หรือ โค้งก็ได้
อย่าจุ่มสีให้ชุ่มเกินไป ป้ายซ้ำ ๆ กันให้มีลักษณะต่อเนื่องกันในทิศทางเดียวกันและพลิกแพลงพู่กันตามความเหมาะสม
ทดลองป้ายบนกระดาษที่มีผิวต่าง ๆ กัน สังเกตดูความแตกต่าง รวมทั้งลองเปลี่ยนพู่กัน
3. การแต้ม เพื่อให้เกิดรอยแปรง
ขึ้นอยู่กับมือที่กดลงไปเพื่อให้เกิดฝีแปรงที่กลมกลืนกัน
4. การผสม (Mixed
technique) ใช้พู่กันจุ่มสีแตะลงกระดาษ และป้ายสลับกันในทิศทางเดียวกัน
อาจพิจารณาวัตถุตรงหน้าแล้วป้ายตามลักษณะของวัตถุนั้น
และแตะบางส่วนโดยเร็วพยายามเปลี่ยนลีลาการป้ายเสมอ ๆ และเปลี่ยนสี เตรียมกระดาษที่มีลักษณะผิวต่าง
ๆ กัน แล้วป้ายและแตะคล้าย ๆ กันบนกระดาษแต่ละชนิดนั้น
สังเกตดูความแตกต่างของผลที่เกิดขึ้น ลักษณะภาพโดยทั่วไปให้ความรู้สึกเด็ดขาด
รุนแรง แสดงให้เห็นลักษณะผิวของกระดาษเด่นชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น