วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก


การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก
 
          การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet) เป็นการระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป หรือระบายสีทับลงบนอีกสีหนึ่ง ในขณะที่สียังไม่แห้ง สีจะไหลซึมเข้าหากันจะเกิดเป็นสีใหม่อย่างกลมกลืน จะให้สีซึมมากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่กระดาษกับน้ำในพู่กัน การระบายแบบนี้จะช่วยให้สีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยากเนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ จะให้ความกลมกลืนเด่นชัด บนความชุ่มของผิวกระดาษ สีที่ถูกระบายลงไปจะซึมออกและเจือจางลง เลื่อนไหลเข้าหากัน ให้ความรู้สึกฟุ้งกระจาย นุ่มนวลเบลอ ๆ เหมือนหมอก เหมือนในฝัน ปราศจากรอยแปรงหรือพู่กัน เมื่อแห้งสนิทไม่มีรอยขอบที่คมจัดหรือชัดเจน เป็นเทคนิคที่เหมาะในการสร้างบรรยากาศในภาพที่ต้องการให้มีระยะไกล ๆ ใช้กับวัตถุที่ไม่ต้องการเน้นให้เห็นชัดเจน การระบายแบบนี้ควบคุมพื้นที่ของสีได้ยากเพราะสีวิ่งไปตามน้ำ มักใช้กับพื้นที่กว้าง ๆ เหมาะสำหรับการระบายสีภาพท้องฟ้าและน้ำ ผิววัตถุที่มัน การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียกมีเทคนิค ดังนี้

การไหลซึม (Mingling) โดยการลูบกระดาษให้เปียกชุ่มด้วยฟองน้ำ ป้ายเรียบนำไปก่อนหนึ่งครั้ง แล้วเพิ่มสีเข้มทันทีทันใด ปล่อยให้สีซึมเข้าหา การป้ายวิธีนี้หากเว้นช่วงเวลาป้ายซ้ำนานเกินไป สีเดิมจะแห้งทำให้เกิดรอยคมชัดปรากฏขึ้น

การไหลย้อย (Dipping) เป็นการเรียนรู้การไหลของสีน้ำได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น โดยการป้ายน้ำจำนวนมากลงบนกระดาษ แล้วหยดสีด้านบนขณะที่เปียก แล้วยกกระดาษเอียง สีจะไหลลงไปเรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ วางกระดาษราบเหมือนเดิมเพื่อการหยุดไหล หากสีไหลมากเกินไปให้เปลี่ยนมุมยกสี


  by Maria Stezhko
 
 
 by Maria Stezhko






by Maria Stezhko


 

artist “Behrooz Bahadori




 by CanotStop
 



 by yevgenia watts


 
 




 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น