วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง


การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง
 
การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง (Dry on Dry) คือ สีผสมน้ำน้อย ใช้พู่กันจุ่มสีแบบหมาด  เกือบแห้ง ระบายในลักษณะฝืด ๆ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น แตะ แต้ม ขีด เขียน ลากเส้นอย่างรวดเร็ว ผสมผสานกัน สีจะติดบ้างไม่ติดบ้างตามน้ำหนักมือ ประกอบกับการใช้ส่วนต่าง ๆ ของพู่กัน คือ ปลายบ้าง โคนบ้างเพื่อให้เกิดเป็นลักษณะต่าง ๆ และทำให้เกิดพื้นผิว (Texture) ตามลักษณะของกระดาษ ทำให้เกิดพื้นผิวสีน้ำที่ครูดกับกระดาษ (crack) เกิดลักษณะที่สวยงามอีกแบบหนึ่ง  ใช้ในงานสเกตช์  ใช้กับการเน้นเพื่อเพิ่มรายละเอียดของภาพ หรือเขียนเป็นเส้นในสัดส่วนเล็กน้อย ใช้ระบายวัตถุที่มีผิวขรุขระ แห้ง แข็งกระด้าง เช่น เปลือกไม้ น้ำตก โขดหิน ลูกคลื่น พื้นทราย รวมทั้งใช้กับภาพที่ต้องการสื่ออารมณ์ความรู้สึกอย่างรวดเร็ว  เช่น ภาพคน เดิน วิ่ง รถจักรยาน ร่ม ศิลปินจีนและญี่ปุ่นมีความชำนาญในการวาดภาพแบบนี้มากเพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวหนังสือของเขา สำหรับศิลปินไทยจะตัดเส้นรอบนอกและรายละเอียดเส้นชัดเจน การระบายแบบนี้เพิ่งจะได้รับการพัฒนาเมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการวาดเขียนตามท่าทาง (Gesture Drawing) และการเน้นบริเวณที่ต้องการชี้เฉพาะเจาะจง (Emphasis)

เทคนิคการระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้งมีเทคนิคการระบาย ดังนี้

         1. การแตะ (Stamping) แตะตามแนวนอนเว้นช่องห่างกันและชิดกันตามต้องการ  พลิกแพลงวิธีแตะให้แปลกไปจากที่เคยทำ เปลี่ยนสี เปลี่ยนพู่กัน ตามที่เห็นว่าน่าสนใจและเหมาะสม

          2. การป้าย (Splashing) ป้ายรวดเร็ว โดยป้ายในทางตรง เฉียง หรือแนวนอน สีจะติดมากน้อยขึ้นอยู่กับน้ำและพู่กัน การป้ายช้า ๆ สีจะติดกระดาษมากกว่าไม่ติด ป้ายครั้งเดียวจะป้ายตรง เฉียง หรือ โค้งก็ได้ อย่าจุ่มสีให้ชุ่มเกินไป ป้ายซ้ำ ๆ กันให้มีลักษณะต่อเนื่องกันในทิศทางเดียวกันและพลิกแพลงพู่กันตามความเหมาะสม ทดลองป้ายบนกระดาษที่มีผิวต่าง ๆ กัน สังเกตดูความแตกต่าง รวมทั้งลองเปลี่ยนพู่กัน

          3. การแต้ม เพื่อให้เกิดรอยแปรง ขึ้นอยู่กับมือที่กดลงไปเพื่อให้เกิดฝีแปรงที่กลมกลืนกัน

4. การผสม (Mixed technique) ใช้พู่กันจุ่มสีแตะลงกระดาษ และป้ายสลับกันในทิศทางเดียวกัน อาจพิจารณาวัตถุตรงหน้าแล้วป้ายตามลักษณะของวัตถุนั้น และแตะบางส่วนโดยเร็วพยายามเปลี่ยนลีลาการป้ายเสมอ ๆ และเปลี่ยนสี เตรียมกระดาษที่มีลักษณะผิวต่าง ๆ กัน แล้วป้ายและแตะคล้าย ๆ กันบนกระดาษแต่ละชนิดนั้น สังเกตดูความแตกต่างของผลที่เกิดขึ้น ลักษณะภาพโดยทั่วไปให้ความรู้สึกเด็ดขาด รุนแรง แสดงให้เห็นลักษณะผิวของกระดาษเด่นชัด

 







 

การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก


การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก
 
          การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet) เป็นการระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป หรือระบายสีทับลงบนอีกสีหนึ่ง ในขณะที่สียังไม่แห้ง สีจะไหลซึมเข้าหากันจะเกิดเป็นสีใหม่อย่างกลมกลืน จะให้สีซึมมากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่กระดาษกับน้ำในพู่กัน การระบายแบบนี้จะช่วยให้สีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยากเนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ จะให้ความกลมกลืนเด่นชัด บนความชุ่มของผิวกระดาษ สีที่ถูกระบายลงไปจะซึมออกและเจือจางลง เลื่อนไหลเข้าหากัน ให้ความรู้สึกฟุ้งกระจาย นุ่มนวลเบลอ ๆ เหมือนหมอก เหมือนในฝัน ปราศจากรอยแปรงหรือพู่กัน เมื่อแห้งสนิทไม่มีรอยขอบที่คมจัดหรือชัดเจน เป็นเทคนิคที่เหมาะในการสร้างบรรยากาศในภาพที่ต้องการให้มีระยะไกล ๆ ใช้กับวัตถุที่ไม่ต้องการเน้นให้เห็นชัดเจน การระบายแบบนี้ควบคุมพื้นที่ของสีได้ยากเพราะสีวิ่งไปตามน้ำ มักใช้กับพื้นที่กว้าง ๆ เหมาะสำหรับการระบายสีภาพท้องฟ้าและน้ำ ผิววัตถุที่มัน การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียกมีเทคนิค ดังนี้

การไหลซึม (Mingling) โดยการลูบกระดาษให้เปียกชุ่มด้วยฟองน้ำ ป้ายเรียบนำไปก่อนหนึ่งครั้ง แล้วเพิ่มสีเข้มทันทีทันใด ปล่อยให้สีซึมเข้าหา การป้ายวิธีนี้หากเว้นช่วงเวลาป้ายซ้ำนานเกินไป สีเดิมจะแห้งทำให้เกิดรอยคมชัดปรากฏขึ้น

การไหลย้อย (Dipping) เป็นการเรียนรู้การไหลของสีน้ำได้ชัดเจน ยิ่งขึ้น โดยการป้ายน้ำจำนวนมากลงบนกระดาษ แล้วหยดสีด้านบนขณะที่เปียก แล้วยกกระดาษเอียง สีจะไหลลงไปเรื่อย ๆ ตามที่ต้องการ วางกระดาษราบเหมือนเดิมเพื่อการหยุดไหล หากสีไหลมากเกินไปให้เปลี่ยนมุมยกสี


  by Maria Stezhko
 
 
 by Maria Stezhko






by Maria Stezhko


 

artist “Behrooz Bahadori




 by CanotStop
 



 by yevgenia watts


 
 




 

การระบายสีน้ำแบบป้ายเรียบ


การระบายสีน้ำแบบป้ายเรียบ

การระบายสีน้ำแบบป้ายเรียบ (Flat wash) หรือการระบายสีน้ำแบบเปียกบนแห้ง (Wet on Dry) คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี  ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ วิธีนี้เหมาะสำหรับการระบายสีให้เรียบ ถือเป็นเทคนิคพื้นฐานที่สำคัญของการระบายสีน้ำ หากมีความชำนาญและสามารถควบคุมน้ำหนักของสีตามที่ต้องการได้แล้ว สามารถนำไปใช้ระบายวิธีเคลือบหรือระบายทับกันได้ จากนั้นก็สามารถพลิกแพลง ผสมผสานกับการระบายแบบอื่น ๆ ได้ มีเทคนิค 3 วิธี คือ การระบายเรียบสีเดียว การระบายเรียบหลายสี และการระบายเรียบไล่น้ำหนัก เทคนิคทั้ง 3 วิธีนี้จะปรากฏอยู่บนผลงานสีน้ำทั่วไป

1. การระบายเรียบสีเดียว (Flat Wash) เป็นการระบายสีให้เรียบด้วยสีเดียวน้ำหนักเดียว หากพื้นที่กว้างมากอาจผสมสีลงในถ้วยก่อนก็ได้ ควรทดสอบน้ำหนักสีในกระดาษทดลองก่อนป้ายจริง วิธีทดสอบความข้นเหลวของสีง่าย ๆ คือ จุ่มปลายพู่กันลงในสีแล้วยกห้อยปลายพู่กันลง ถ้าสีเหลวน้ำสีจะหยดลงทันที ถ้าสีข้นสีจะค่อย ๆ หยด

2. การระบายเรียบหลายสี (color Wash) ทำเหมือนกับระบายเรียบสีเดียวแต่เมื่อจบสีที่ 1 แล้วให้ระบายสีที่ 2 ต่อในขณะเปียก สีต่างๆ จะผสมผสานกันอย่างต่อเนื่อง

3. การระบายเรียบไล่น้ำหนัก (Grade Wash) เป็นการระบายสีให้เรียบจากสีอ่อนไปหาสีเข้มหรือจากสีเข้มไปหาสีอ่อน นำไปใช้ในการระบายเพื่อให้เกิดแสงเงา   ความลึก

  artist David J. Rogers


 


 
 
 


 









 
 

 


ลักษณะเฉพาะของสีน้ำ


ลักษณะเฉพาะของสีน้ำ
 
ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำ คือ ความโปร่งใส” (TRANSPARENT) การระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ พยายามระบายครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีซ้ำหรือทับกัน หลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และสะอาด สีน้ำโดยทั่วไปจะระบายจากสีอ่อนไปหาสีเข้ม เพราะสามารถเพิ่มน้ำหนักเข้มตามที่ต้องการได้  หากระบายเข้มมากไปก็สามารถเช็ดออกด้วยผ้าหรือกระดาษทิชชูให้อ่อนลงได้  สีน้ำได้รับการพัฒนามาจากการวาดเส้น โดยสามารถแสดงบรรยากาศได้ดีกว่าการวาดเส้น

สีน้ำจึงมีคุณสมบัติโปร่งใส นิยมระบายบนกระดาษขาว ซึ่งมีลักษณะผิวของกระดาษต่าง ๆ กัน นอกจากนี้ยังมีลักษณะชุ่มเยิ้มมีคราบเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้น คุณค่าและประโยชน์ของสีน้ำจึงต่างจากสื่อวัสดุประเภทอื่น เช่น มีคุณค่าความเรียบง่าย และคุณค่าด้านความรู้สึกของบรรยากาศ สีน้ำมีคุณลักษณะเฉพาะ 4 ประการดังนี้

1. ลักษณะโปร่งใส (Transparent Quality) เป็นสีที่มีแสงผ่านและมองทะลุผ่านได้ ช่วยให้ภาพมีสีสดใสสบายตา การระบายสีน้ำไม่ควรใช้เนื้อสีแบบหนาทึบจนเกินไปไม่ควรระบายซ้ำในที่เดียวกันหลายครั้งเพราะจะทำให้เป็นสีทึบแสง ดูไม่สดใสและอาจทำให้กระดาษช้ำเป็นขุย

        2. ลักษณะเปียกชุ่ม (Sofe Quality) เป็นสีที่ชุ่มด้วยน้ำ ทำให้เกิดความรู้สึกเปียกชุ่ม
อยู่ตลอดเวลาแม้สีจะแห้งสนิทแล้วก็ตาม ความเปียกชุ่มนี้จะช่วยให้ภาพวาดมีสีสันสดใส นุ่มนวลกลมกลืนและแลดูมีชีวิต ดังนั้นจึงควรใช้น้ำผสมสีให้มีปริมาณที่เพียงพอ เพื่อให้สีน้ำคงความชุ่มชื้น และสามารถสะท้อนความงามและความนุ่มนวลกลมกลืนตามที่ต้องการ

3. ลักษณะรุกรานซึมเข้าหากัน (Advance , Decent) สีน้ำจะไหลซึมเข้าไปผสมผสานกับสีที่ระบายอยู่ใกล้เคียงกันในขณะที่สียังไม่แห้งสนิท ช่วยให้สีในภาพเกิดการประสานกลมกลืน ควรใช้น้ำระบายลงบนพื้นกระดาษด้วยปริมาณน้ำที่มากพอ จะทำให้สีรุกรานเข้าหากันได้

            4. ลักษณะแห้งเร็ว สามารถควบคุมสีน้ำแห้งช้าลงด้วยการหลีกเลี่ยงลมแรง หรือ ผสมกลีเซอรีนในน้ำผสมสี ต้องการให้สีแห้งเร็วและเกิดคราบใช้ผสมแอลกอฮอล์หรือใช้เครื่องเป่าผม

Artists Rita Squier